น้ำเปล่าผสมอาหาร ทำให้นกติดเชื้อได้หรือไม่ ? และกระเพาะพักค้างนานเกิดจากอะไร ?

4499 จำนวนผู้เข้าชม  | 

น้ำเปล่าผสมอาหาร ทำให้นกติดเชื้อได้หรือไม่ ? และกระเพาะพักค้างนานเกิดจากอะไร ?


เรื่องนี้มีคนสงสัยเยอะครับ และอาจเป็นมากกว่าที่สงสัย

อาหารลูกป้อนปัจจุบัน จะชงละลายได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ต้องใช้น้ำร้อนแล้วเพื่อป้องกันการลวกของกระเพาะพักครับ

น้ำเปล่าต้องสะอาด ผ่านการกรองหรือต้มสุกมาแล้ว และไม่ต้องกังวลเรื่องติดเชื้อครับ เขาจะเสริมพวกโปรไบโอติกส์ร่วมครับ



การเกิดกระเพาะพักไม่เคลื่อนตัวหรือค้าง

เรียกว่า crop delayed ปกติจะบีบออกหมดภายใน 4-6 ชั่วโมงครับ

เกิดจากหลายสาเหตุครับ สาเหตุที่พบบ่อยคือการป้อนอาหารมากเกินไป แต่คนเลี้ยงส่วนใหญ่ก็จะทำตามๆกัน และไม่มีเวลาป้อนเลยอัดๆจำนวนมาก
ซึ่งตามธรรมชาติจะได้รับน้อยแต่บ่อยครั้ง

ถ้ามีเวลาให้เขาก็ควรป้อนครั้งละน้อยๆ
นกขนาดกลางจะป้อนที่ 8-15 ซีซี. ต่อครั้ง นกเล็กกว่านี้ก็ลดลง นกใหญ่เช่นกระตั๊วและมาคอว์ก็ป้อนได้มากกว่า (บ้านเราป้อนเยอะถึง 60-80 ก็เสี่ยงในบางราย ตามมาตรฐานก็อยู่แค่ 25) จะช่วยให้อาหารเคลื่อนตัวได้ดีและกระเพาะพักว่างทันใน 4-6 ชั่วโมง ค่อยป้อนกันใหม่ตามเวลาว่างนั่นเอง ถ้าเกิดกระเพาะพักค้างเกินเวลา จะทำให้อาหารเริ่มบูดเปรี้ยวครับ เป็นสาเหตุของการเกิดทางเดินอาหารติดเชื้อและอักเสบรุนแรงตามมา

บางสาเหตุเกิดจากอาหารและการชง อาหารที่มีกากมากเกินไปจะทำให้เกิดการอัดแน่นและอุดตันได้ และการชงข้นก็ทำให้เกิด crop delayed ได้มากกว่า ถ้าให้ปริมาณมากก็ยิ่งเสี่ยง จึงต้องเลือกที่มีคุณภาพ ให้น้อยๆแต่พลังงานและคุณค่าเพียงพอครับ ไม่ใช่ให้เยอะๆแต่เอาไปใช้ได้น้อย

สาเหตุที่เป็นปัญหาอีกประการ คือกลุ่มโรคติดเชื้อ ตั้งแต่ติดเชื้อมาจากการป้อน กระเพาะพักบูดเปรี้ยวเพราะค้างนาน ติดเชื้อในทางเดินอาหาร และติดมาแต่การเลี้ยงจากมูลในกรงเดียวกัน ทั้งแบคทีเรีย โปรโตซัวและไวรัส

อีกโรคที่มีความชุกสูงมากครับ คือโรคติดเชื้อ Bornavirus จะติดเชื้อในระบบทางเดินและระบบอื่นๆ ทำให้เกิดกระเพาะอาหารส่วนหน้าหรือ proventriculus ขยายตัวอย่างมาก จะพบอาการกระเพาะพักค้างนานมาก ขย้อนอาหาร สั่นหัว ผอม อาหารไม่ย่อย และตาย เชื้อนี้ติดต่อได้และในกรงเดียวกันก็จะทะยอนตายไปทีละตัวๆครับ

ในกรณีของตัวนี้ แนะนำให้ลองลดปริมาณอาหารทดสอบเพียง 6-8 ซีซี และดูว่ากระเพาะพักยังช้าเกิน 6 ชั่วโมงหรือไม่ เสริมโปรไบโอติกส์ เลือกใช้ของกระต่ายที่ชื่อว่า Bunny Enzyme ก็ได้ครับ ใช้ด้วยกันได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และแนะนำให้ไปตรวจ เขาจะดูอาการ หมอเขาจะป้ายเชื้อจากหลอดอาหาร และทวารรวม เพื่อไปส่องกล้องดูพวกแบคทีเรีย ยีสต์และโปรโตซัว และบางตัวอาจพิจารณาเอ็กซเรย์ประเมินจากภาพทั้งตัว

บางบ้านที่มีการตายด้วยอาการเข้าข่ายเขาก็จะตรวจโรคไวรัสชนิดนี้เลย มีการตรวจในกทม.  ที่โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ ครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้