Encephalitozoon cuniculi in rabbit โรคไข้สมองอักเสบในกระต่าย

10854 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Encephalitozoon cuniculi in rabbit โรคไข้สมองอักเสบในกระต่าย

Encephalitozoon cuniculi in rabbit
สพ.ญ นิลวรรณ ธรรมศิริ (หมอนิว)
 

Encephalitozoon cuniculi (E.cuniculi) เป็นเชื้อโปรโตซัวที่ก่อโรคทางระบบประสาทสำคัญในกระต่าย

นอกจากนั้นยังสามารถก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น รวมถึงมนุษย์ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกด้วย

การติดเชื้อ E.cuniculi ส่วนใหญเป็น การติดเชื้อแบบฉวยโอกาส (Opportunistic infection)

ซึ่งส่วนใหญ่เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินสปอร์ที่ปนเปื้อนในอาหาร, น้ำ, สิ่งแวดล้อมจากปัสสาวะของกระต่ายที่ติดเชื้อ (Horizontal transmission)

หรือการติดเชื้อจากแม่กระต่ายสู่ลูกกระต่าย (Transplacental transmission)

อาการทางคลินิกที่พบ

1. อาการทางระบบประสาท เช่น หัวเอียง (Head tilt), ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (Ataxia), หมุนเป็นวงกลม (Circling), ชัก (Seizure) และอัมพฤกษ (Paresis) เป็นต้น

2. อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบอื่น เช่น อาการที่เกี่ยวของกับภาวะไตวาย (Renal failure) ได้แก่ อาการดื่มน้ำมาก (Polydipsia), ปัสสาวะมาก (Polyuria), อาการถ่ายปัสสาวะบ่อย (Pollakiuria), การเกิดภาวะยูเวียอักเสบแบบแกรนนูโลมา และ น้ำหนกลด เป็นต้น

โดยอาการดังกล่าวข้างตนอาจเกิดทีละระบบ หรือสามารถเกิดได้หลายระบบร่วมกัน ส่วนมากในกระต่ายที่มีภูมิคุ้มกัน ดีมักไม่แสดงอาการทางคลินิก หากกระต่ายอยู่ในภาวะเครียด ภูมิคุ้มกันตก สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือ ภาวะทุพโภชนการ อาจทำให้กระต่ายแสดงอาการของโรคดังกล่าวข้างต้นได้ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่รางกาย กระต่ายจะสามารถขับเชื้อออกทางปัสสาวะ ได้ช่วง 1-2สัปดาห์แรก เชื้อจะยังสามารถอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5 สัปดาห์ และคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 4 สัปดาห์หลัง กระต่ายขับเชื้อ ซึ่งความรุนแรงของโรคที่แสดงออกทางคลินิกจะขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่กระต่ายได้รับ

รูปที่ 1. อาการหัวเอียงในกระต่ายป่วยด้วยการติดเชื้อ E.cuniculi (1)

รูปที่ 2. ภาวะยูเวียอักเสบแบบแกรนนูโลมาในกระต่ายที่ติดเชื้อ E.cuniculi (1)

รูปที่ 3. ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (Ataxia) ในกระต่ายที่ติดเชื้อ E.cuniculi (2)

การวินิจฉัย

1.การประเมินจากอาการทางคลินิก


2. วิธีการตรวจหาเชื้อจากปัสสาวะด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) และ Real-time Polymerase chain reaction (Real-time PCR) โดยจะตรวจช่วงที่มีการขับเชื้อออกจากร่างกายในช่วง 3 เดือนแรก


3. วิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยาหาระดับภูมิคุ้มกันของเชื้อในเลือดที่มีในตัวสัตว์ได้แก่วิธี Enzyme-liked immunosorbent assay (ELISA), Indiect immunofluorescent assay (IFA) และ Carbon immunoassay (CIA) ซึ่งวิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยาดังกล่าว ข้างต้นมีความแม่นยำในการตรวจค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันทางโรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำสามารถตรวจทางหาเชื้อ E.cuniculi ใน เลือดกระต่ายที่สงสัยว่าติดเชื้อด้วยวิธีการทางซีรั่มวิทยา คือ วิธี Enzyme-liked immunosorbent assay (ELISA) ในห้องปฏิบัติการ เฉพาะของโรงพยาบาลสัตว์เองได้และใช้ระยะเวลารายงานผล 4-5 วันทำการ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที่ 

การรักษา

ปัจจุบันจะมียาฆ่าเชื้อที่ใช้รักษาโปรโตซัวชนิดนี้ โดยการกินอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาแบบประคองอาการ อาจมีการให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน มีการให้ยาลดอักเสบ ยาลดปวด สารน้ำ และ ยาอื่นๆรักษาตามอาการ เช่น ยาหยอดตาและการให้อาหารสำหรับกระต่ายป่วยเสริมในรายที่มีความอยากอาหารน้อย

การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการทางคลินิกที่พบ หากมีอาการทางระบบประสาทหรือหัวเอียง ภายหลังการรักษาอาจจะยังมีอาการดังกล่าวคงอยู่และไม่หายขาด เนื่องจากมีการเสียหายของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง หรืออาการอาจรุนแรงจนเสียชีวิตหากมีอาการของโรคอื่นแทรกซ้อน เช่น ไตวายหรือภาวะทางเดินอาหารบีบตัวลดลง

หากกระต่ายที่บ้านมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นแม้เพียงเล็กน้อย แนะนำให้เจ้าของพามาพบสัตว์แพทย์เพื่อทำการ วินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที

โรคนี้ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

อ้างอิง

(1) https://www.wikiwand.com/en/Encephalitozoon_cuniculi

(2) https://actavetscand.biomedcentral.com

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้