เกตุ

เกตุ

ผู้เยี่ยมชม

  กระต่ายอายุประมาณ10ปีืยังไม่เคยตรวจสุขภาพเลย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ (302 อ่าน)

14 มิ.ย. 2566 22:59

ขอบคุณค่ะ

เกตุ

เกตุ

ผู้เยี่ยมชม

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

15 มิ.ย. 2566 19:41 #1

กระต่ายอายุ 10 ปี ถือว่าอายุยืนครับ แต่ยังไปได้อีกหลายปีตามสถิติอายุกระต่ายปัจจุบันที่ถูกเลี้ยงอย่างเหมาะสม มีความคิดว่าจะตรวจสุขภาพ ถือเป็นเรื่องดี ปัญหาวัยนี้ขึ้นกับว่าในอดีตมีการจัดการอย่างไร เช่น อาหาร และความหนาแน่นในการเลี้ยง เป็นส่วนใหญ่ หากการจัดการอาหารไม่เหมาะสม วัยนี้จะเป็นวัยที่ทรุดโทรมอย่างมาก แต่ผู้เลี้ยงจะไม่เข้าใจว่าเขาผ่านโรคนั้นๆอย่างเรื้อรังมาได้อย่างไร การตรวจสุขภาพจึงต้องตรวจหลายอย่างและต้องเริ่มแก้ไขคามผิดปกติ ค่าใช้จ่ายย่อมสูงกว่าปกติมากๆครับ

ตรงกันข้ามกับกระต่ายที่ถูกเลี้ยงมาอย่างดี อาหารเหมาะสมและใช้สัดส่วนที่ถูกต้อง ลักษณะของสุขภาพอาจจะดูไม่เหมือนกระต่ายชราเลยก็ได้ ไม่พบความเสื่อมโทรมของร่างกายให้พบเห็น ค่าตรวจและแนวทางการตรวจก็จะน้อยกว่า ค่าตรวจก็จะน้อยกว่าอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ในกรณีตรวจร่างกายสำหรับวัยชราแล้วนี้ จะเป็นคำแนะนำสำหรับกระต่ายทุกตัวที่อายุเริ่มมากหรือมากกว่า 6 ปี หรือใครที่เคร่งครัดในการเลี้ยงควรทำทุกช่วงวัย ได้แก่ การตรวจสายตา การเดิน ตรวจฟัน ตรวจกระดูกขา ตรวจไซนัสและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีสัมพันธ์กับวัยที่เสื่อม โดยการคลำเคาะฟัง หรือใช้เครื่องมือพื้นฐานทั่วไปตรวจ (อันนี้ไม่แพง) และขยับไปเป็นการทำการเอกซเรย์ และหรือร่วมกับอัลตราซาวด์ประเมินช่องอก ช่องท้อง ประเมินภาวะลำไส้อืด หรือการสะสมของแก๊ส ประเมินการผิดรูปและยุบตัวของกระดูกสันหลังจากมวลกระดูกลดลง เพราะในรายที่มีปัญหาของกระดูกจะเริ่มใช้ขาหลังไม่ได้ เป็นอัมพาตได้ และวัยตั้งแต่ 7 ขวบจะเริ่มพบได้มากขึ้น ประเมินปอดว่าเกิดความเสื่อมตามวัยหรือไม่ นอกจากนี้ยังประเมินการทำงานของหัวใจ ทั้งจากเอกซเรย์ การทำเอคโค่ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะมีแผนกโรคหัวใจสำหรับกระต่ายและเอกโซติกโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น ซึ่งอยู่ที่ว่าผู้เลี้ยงจะขอตรวจอะไรบ้าง แต่พื้นฐานแนะนำว่าควรมีการเอกซเรย์ร่วมเสมอ อย่างอื่นๆ หมอที่พบปัญหาจากเอกซเรย์จะแนะนำเพิ่มถ้เกิดความสงสัยครับ และที่ต้องทำคือการตรวจเลือด เพื่อประเมินการทำงานของตับและไต ซึ่งเป็นอวัยะวะหลักที่นิยมทำ เพราะมีผลกระทบทั้งร่างกายและเป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรง และที่น่าสนใจที่คนนิยมนำกระต่ายตรวจกันมากคือการตรวจไข้สมองอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว ตัวนี้มีการระบาดมาก และติดมาตั้งแต่วัยเด็กได้ แต่ผู้เลี้ยงสามารถเลือกว่าจะตรวจหรือไม่ก็ได้ หรือจะตรวจเมื่อพบอาการทางประสาทเกิดขึ้นแล้ว เช่น หัวเอียง ตากระตุก เดินไม่สัมพันธ์ เดินเป็นวงกลมในบางรายและเมื่ออายุมากมักจะใช้ขาหลังหรือขาหน้าไม่ได้ เป็นต้น

พิจารณาเป็นขั้นๆได้ครับ

สรุปที่ควรทำคือตรวจร่างกายทั่วไปจากเครื่องมือพื้นฐานประจำตัวหมอ เขาจะทำให้เกือบทุกรายการที่ผมกล่าว ต่อมาคือการเอกซเรย์เพื่อสำรวจไปให้ทั่ว จะช่วยได้ว่าควรจะตรวจอย่างอื่นต่อหรือไม่ และควรตรวจเลือดในระดับ general profile ด้วยเสมอ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดหรือค่าโลหิตวิทยา และชีวเคมีค่าตับและค่าไต ครับ

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

15 มิ.ย. 2566 19:43 #2

ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยตามสรุปจะประมาณ 1250 บาท จะมากหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่สถานที่ครับ

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

ลอปเตอร์

ลอปเตอร์

ผู้เยี่ยมชม

21 มิ.ย. 2566 23:17 #3

พอดีเลี้ยงน้องมาอายุ 5-6 ปีแล้ว ตาซ้ายเป็นต้อกระจกเริ่งเป็นวงกลมกว้างตอนนี้รอพบจักษุ ตาขวาก็เริ่มมีต้อแต่เล็กๆช่วงนี้หยอดยาชะลอต้ออยู่ อยากทราบว่าคุณหมอมีคำแนะนำเรื่องของการผ่าตัดมั้ยคะว่าควรหรือไม่ควร

ลอปเตอร์

ลอปเตอร์

ผู้เยี่ยมชม

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

22 มิ.ย. 2566 19:45 #4

กระต่ายวัยนี้จะเป็น senile cataract หรือต้อกระจกตามอายุ จะเริ่มจากขุ่นไปเรื่อยๆจนบดบังการมองเห็นได้ มักจะพบเมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป แต่ไม่ได้หมายถึงจอตาจะเสื่อมหรือพบปัญหาไปด้วย ในบางรายจึงยังมองเห็นแต่มัว หรือการมองเห็นแต่ละตัวไม่เท่ากัน และเมื่อถึงวัยที่เลนส์เสื่อมมาก บางรายเกิดเลนส์บางและใสก็พบได้บ่อยๆในวัย 7-8 ขวบขึ้นไปครับ และอาจเริ่มมองเห็นได้ดีขึ้นก็พบได้ ผู้เลี้ยงหลายคนคงอาจผ่านตาขุ่นมาจนเห็นตาใสแล้วก็มี พอมาตรวจก็พบว่าตาใสแล้วหมายถึงเลนส์ใส โดยไม่ทันสังเกตว่ากระต่ายเคยมองไม่เห็นมาก่อนด้วยซ้ำครับ นอกจากนี้กระต่ายยังใช้การสัมผัส และความคุ้นเคยในการใช้ชีวิตได้ เช่น ใช้คางและริมฝีปากแตะอาหาร เดินเส้นทางเดิมๆ เป็นต้น จึงควรทดสอบการมองเห็นก่อนโดยการวางสิ่งกีดขวางไว้ข้างหน้าหรือจุดที่ไม่คุ้นเคย จะชนหรือไม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาจไม่ได้ผลเพราะกระต่ายจะขยับตัวช้าลงและใช้การสัมผัส แต่นั่นก็สามารถบ่งบอกได้พอสมควรว่าเริ่มมองไม่เห็นหรือไม่มั่นใจ ปรกติจะเดินหรือกระโดดซิกแซกไปมาเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจสังเกตได้ยาก อีกวิธีคือการจิ้มตาแต่ไม่ได้จิ้มจริง ค่อยๆเอาวัตถุเข้าไปใกล้โดยไม่ให้มีลมพัด แต่ต้องระวังเช่นกันเพราะกระต่ายไม่เหมือนสัตว์อื่นที่พอทำแบบนี้แล้วจะกระพริบตา แต่กระต่ายอาจใช้การหันหลบแทน แต่หากทั้งสองอย่างที่ทำแล้วมีผล ให้สงสัยว่ามองไม่เห็น

การรักษาโดยการทำการผ่าตัดเลนส์แบบ phacoemulsification ที่เจ้าของสนใจอาจต้องถามหลายๆที่ว่ามีหมอท่านใดจัดการได้บ้างนะครับ หมอที่เขาชำนาญด้านนี้ (ผ่าตัดเลนส์) โดยตรงจะช่วยตอบคำถามได้ดีกว่าผม โดยหลักการวิธีนี้มีทำในกระต่าย และอัตราการหายในเมืองนอกสูงถึงร้อยละ 90 เลยครับ ส่วนการรักษาทางยาหรือการป้องกันในปัจจุบันจะเอาของคนมาใช้ มีหลายชนิดเลยครับ แต่ตัวเลือกดีๆในปัจจุบันก็มากขึ้น หรือแม้กระทั่งการใช้คาโรทีนอยด์ ลูทีน คริปโตแซนทีน ก็พบรายงานการชะลอหรือไปลดอัตราการเกิดต้อกระจกได้ ต้องระวังอาหารที่ให้น้ำตาลเยอะ เช่น ผลไม้ เพราะทำให้เกิดต้อกระจกมากขึ้น ควรหาสาเหตุอื่นๆที่มักเกิดร่วมเช่นการอักเสบของยูเวีย หรืออวัยวะข้างเคียงในลูกตา ต้อหิน เป็นต้น ในกระต่ายยังพบเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวได้อีกด้วย การรักษาก็มักจะไม่ได้ผล หากไม่แก้เหตุก็รักษาหรือป้องกันไม่ได้ผล ซึ่งหากพบสิ่งเหล่านี้แสดงว่าไม่ได้เป็นจากเพราะอายุมากครับ

หมอขวัญคำ

หมอขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้