ภัทรานิษฐ์ ว.

ภัทรานิษฐ์ ว.

Guest

  ปลาแรดเผือกป่วย (23 views)

25 Jun 2025 16:33

สวัสดีค่ะ เราเลี้ยงปลาแรดเผือก ขนาดประมาณ 18-20 นิ้ว น้องมีแผลที่ตัว 2 จุด แล้วช่วงที่รู้สึกว่าป่วย ปลาเหมือนจะคายเจลๆวุ้นๆออกมา ทำให้น้ำขุ่นค่ะ เราควรจะรักษาปลายังไงดีคะ

ภัทรานิษฐ์ ว.

ภัทรานิษฐ์ ว.

Guest

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

Guest

30 Jun 2025 20:38 #1

จากอาการที่เล่า แม้ว่าจะพบแผลตามลำตัวเพียงสองจุดก็คงมีขนาดกว้างลึกไปถึงชั้นหนังแท้ หรือหากเป็นขนาดเล็กก็จะมีจำนวนมากและเรายังไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าเว้นแต่จะมีจุดเลือดออกก็จะพบมูกจำนวนมาก หรือกำลังจะเกิดเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากพบเมือกหรือวุ้นที่เจ้าของเห็นโดยแผลจะเริ่มปะทุขึ้นในหลายบริเวณ ปลาแรดเผือกมักจะเห็นเป็นเส้นเลือดสีแดงเข้มขึ้น มีมากและเส้นใหญ่ขึ้นครับ ในระยะที่กำลังเกิดการหายของแผลจึงมีการสร้างมูกออกมามากเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล ป้องกันการน้ำจากภายนอกไปทำให้ร่างกายเกิดการบวมน้ำหรือนำไหลเข้าเมื่อมีแผล ทั้งรักษาระดับกรดด่างและอิเลกโทรไลต์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากชั้นผิวหนังที่หายไป

ในกระบวนการหายของแผลจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วในปลา จะแตกต่างกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพวกเราครับ เพราะผิวหนังไม่ได้ประกอบไปด้วยเซลล์ผิวหนังแบบเดียวกับเรา หรือไม่มีเซลล์เคอราติโนไซต์ เวลาหายของแผลจึงเป็นแบบผิวหนังรอบข้างบาดแผลยื่นเข้ามาหากันแบบขาเทียมแล้วประกบกันปิดบาดแผล ทั้งที่แผลยังไม่หาย กระบวนการหายของแผลก็จะเริ่มจากใต้ปากแผลที่เรามองไม่เห็นแผลนั้นครับ การสร้างมูกจึงเกิดขึ้นมากมาย ในกรณีที่เห็นแผลก็ยิ่งลำบาก ก็ยิ่งต้องผลิตอย่างมากเพื่อมาควบคุมปากแผลและรักษาสมดุลอิเลกโทรไลต์และน้ำรอบแผลเพื่อไม่ให้เสียไปกับน้ำจืด น้ำจึงขุ่นมากในระยะแรก และจะดีขึ้นเมื่อแผลเริ่มมีการสมานหรือสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้ามาทำการหายของแผล และร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีในการปกป้องตนเองครับ

ในช่วงนี้เขาจึงนิยมเติมเกลือลงในน้ำเพื่อรักษาระดับเกลือและอิเลกโทรไลต์บางส่วน จะลดการสร้างมูกหรือเมือกได้ เวลาพบน้ำขุ่นก็ไม่ต้องกังวล ให้ทำการตักมูกหรือเมือกออกเป็นช่วงๆ และบางคนก็นิยมเติมยาป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งสามารถทำได้ครับ ตั้งแต่ด่างทับทิม ซึ่งมีความอ่อนต่อผิว ไปจนถึงฟอร์มาลีนร่วมกับมาลาไคท์กรีนในกรณีที่ต้องเจอกับการติดเชื้อแล้ว แต่ในกรณีที่เริ่มพบเหงือกอักเสบกร่อนร่วมด้วย ไม่แนะนำครับ ให้ใช้กลุ่มต้านเชื้ออ่อนแทนร่วมกับการกินหรือฉีดยาเฉพาะราย ซึ่งปลาแรดตัวนี้ควรจะต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น ดูทีเหงือก และอาการรวมอื่นๆ เพราะอาจไม่ได้เกิดบาดแผลตามตัวอย่างเดียวแต่เกิดจกาการติดเชื้อไปแล้วก็ได้ครับ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นบาดแผลทั่วไปการใช้เกลือก็มักจะเพียงพอ เพราะเกลือจะช่วยคุมระดับความเป็นกรดด่างในระดับที่ต้านเชื้อโรคได้ดี แต่ช่วยให้แบคทีเรียทที่มีประโยชน์เจริญได้ หรือจะใช้ด่างทับทิม จุนสีก็ได้ เป็นต้น ขอให้หายไวไวนะครับ

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

Guest

Post reply
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้