ความสำคัญของวิตามินซีในหนูแกสบี้ Importance of Vitamin C in guinea pig

4615 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความสำคัญของวิตามินซีในหนูแกสบี้ Importance of Vitamin C in guinea pig

ความสำคัญของวิตามินซีในหนูแกสบี้ Importance of Vitamin C in guinea pig

หมอการ์ตูน (สพ.ญ. ธารีรัตน์ ทัดทอง โรงพยาบาลสัตว์เรืองรพี )

วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid) เป็นโมเลกุลคาร์โบไฮเดรตขนาดเล็ก ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ และพืช ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1920 โดยนาย Albert von Szent Györgyi ซึ่งพบว่าวิตามินซีสามารถใช้ ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด(Scurry) ในมนุษย์ได้(De Tullio,2010) โดยปกติแล้ว พืชและสัตว์บางชนิดสามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นมาได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์ต้องใช้เอนไซม์ L-gulono-gamma-lactone oxidase (Morimitsu,1988) ในกระบวนการสุดท้ายเพื่อสังเคราะห์ กรดแอสคอร์บิค

แต่มนุษย์และสัตว์บางชนิดเช่น ค้างคาว หนูแกสบี้ ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้ เนื่องจากเอนไซม์ตัวนี้ไม่ทำงานจึงจำเป็นต้องได้รับจากทางกินเท่านั้น

เมื่อหนูแกสบี้มีภาวะขาดหรือได้รับวิตามินซีที่ไม่เพียงพอจะแสดง อาการหลายรูปแบบเช่น ซึม น้ำหนักลด พบเลือดออกโดยเฉพาะ บริเวณข้อต่อต่างๆ เดินไม่สัมพันธ์กัน ข้อบวม เหงือกอักเสบมี เลือดออก ขนแห้งและท้องเสีย ทั้งนี้เนื่องจาก วิตามินซีเป็นสารที่ต้องใช้ในกระบวนการสร้างคอลลาเจนในร่างกาย

โดยสามารถแบ่ง ประเภทของคอลลาเจนได้ 4 ชนิดแบ่งตามส่วนประกอบและการพบ เจอในเนื้อเยื่อต่างๆดังนี้ คือ

ชนิดที่ 1 พบในเนื้อเยื่อกระดูก ผิวหนัง เอ็นยึดข้อ (ligament) และ เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon)
ชนิดที่ 2 พบในกระดูกอ่อน (cartilage)
ชนิดที่ 3 พบในผิวหนัง กล้ามเนื้อ หลอดเลือด
ชนิดที่ 4 พบในเยื่อหุ้มเซลล์ (basement membrane)

เมื่อขาดวิตามินซี กระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจนเหล่านี้จึงมีผลกระทบทำให้เกิดความผิดปกติไปด้วยปริมาณวิตามินซีที่หนูแกสบี้ ต้องการต่อวันคือ 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก หนึ่งกิโลกรัมต่อวัน (mg/kgBw/day) แต่ช่วงตั้งครรภ์ต้องการประมาณ 30 mg/kgBw/day (Plumb,2011) และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ ขาดวิตามินซีในหนูแกสบี้ คือ การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม การทดลองหนึ่งของ Mahmoodian (1999) พบว่าหนูแกสบี้ที่ได้รับอาหารที่ขาดวิตามินซี น้ำหนักจะลดในสัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 อีก ทั้งยังพบว่าเยื่อบุเอนโดทีเลียล(endothelial membrane) จะแยก ออกจากผนังของหลอดเลือด และ เซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบจะ สูญเสียลักษณะของเซลล์รูปกระสวย (spindle shape)


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินซี เช่น ในลูกสัตว์ที่กำลัง เติบโตมีความต้องการวิตามินซีที่สูงกว่าภาวะปกติ เพื่อใช้ในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อต่างๆ การเก็บรักษาอาหารเม็ดที่มี ส่วนผสมของวิตามินซีซึ่งโดนทำลายได้โดยง่ายจากความร้อนและความชื้นต่างๆ โดยประมาณ 50% โดนทำลายใน 6 สัปดาห์ และ วิตามินซีเป็นสารที่ละลายในน้ำ ดังนั้นวิตามินซีที่อยู่ในรูปแบบ อาหารเสริมผสมน้ำจะถูกทำลายคุณลักษณะ 50% ภายใน 24 ชั่วโมง หรือในอาหารบางชนิดมีปริมาณวิตามินซีที่ไม่พอต่อความ ต้องการของหนูแกสบี้

วิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid) เป็นโมเลกุล แนวทางการรักษาภาวะขาดวิตามินซีในหนูแกสบี้ คือต้องให้แน่ใจ ว่าจัดการกับสาเหตุอื่นๆ หมดแล้ว (underlying cause disease ) ควบคุมความเจ็บปวดเนื่องจากจะมีภาวะข้อบวม เลือดออกตามข้อ และเหงือก เสริมวิตามินซีโดยการกิน ขนาด 25-30 mg/kg ต่อ วัน และจัดการด้านอาหารให้ได้รับสารอาหารตามที่ต้องการครบถ้วน

ในกรณีที่สัตว์ไม่กินอาหารเอง เนื่องจากเบื่ออาหารหรือ เจ็บบริเวณเหงือกและฟัน ให้ป้อนอาหารสำเร็จรูปเช่น Critical care ® (Oxbow Pet product)หรือ Rabbit care ® (Randolph Animal Healthcare) โดยใช้ไซริงค์ป้อน

การติดตามอาการหลังการเริ่มรักษา ให้สังเกตจนกว่าจะกลับมาปกติ นัดตรวจโดยใช้ภาพทางรังสีทุกเดือนจนเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

การป้องกันภาวะขาดวิตามินซีในหนูแกสบี้ให้ อาหารเม็ด สำเร็จรูปสำหรับหนูแกสบี้ภายใน 90 วัน ให้ผักที่อุดมไปด้วย วิตามินซีทุกวัน ผักที่อุดมด้วยวิตามินซีเช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่ำย กวางตุ้ง ข้าวโพดอ่อน ชะอม บร็อคโคลี่ มีวิตามินซี 30 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับผักต่างๆอีกหลายชนิดจะมีวิตามินซีน้อย หากมีการเสริมวิตามินซีในน้ำต้องเปลี่ยน ให้ใหม่ทุกวัน หรือป้อนวิตามินซีในไซรัปที่สามารถถนอมวิตามินได้นานกว่า

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้