ปลาทองว่ายผิดท่า เกิดจากอะไร ? 

9443 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปลาทองว่ายผิดท่า เกิดจากอะไร ? 

ปลาทองว่ายผิดท่า เกิดจากอะไร ? 

โดย สพ.ญ. พรชนิต ตันติเจริญวิโรจน์ (หมอออย)  

คุณหมอเคยสังเกตไหมว่าเจ้าของปลาทองที่พามารักษาโดยส่วนใหญ่นั้น มักจะพาน้องมารักษาที่โรงพยาบาลด้วยอาการเหล่านี้ ว่ายน้ำตัวเอียงๆ หงายท้องว่ายน้ำ ก้นโด่ง
รึก้นจมผิดปกติ บางตัวก็จมอยู่ก้นบ่อ ไม่สามารถว่ายน้ำขึ้นมาได้เหมือนปลาทั่วๆไป
 
อาการเหล่านี้ เป็นอาการที่บ่งบอกได้ถึงกลุ่มอาการ “Swim bladder dis order” หรือก็คือเกิดความผิดปกติ ที่ถุงลมของน้องปลาทองนั่นเอง
 

แล้วอะไรล่ะที่เป็นสำเหตุให้เกิดความผิดปกติของถุงลมเหล่านั้น เมื่อใดก็ตามที่อวัยวะภายในของน้องปลาโดยเฉพาะ ทางเดินอาหารนั้นมีการ ขยายขนาดใหญ่ขึ้น ก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเบียดถุงลมทำให้ลดการ ทำงาน หรือเกิดการเคลื่อนที่ของถุงลมไปอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติได้

โดยสามารถพบสาเหตุหลักๆได้ดังนี้
1. การที่ปลาฮุบอากาศมากเกินไปในขณะที่กินอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมอากาศในทางเดินอาหารมากเกินไปจนเบียดถุงลม

2. อาหารที่มีเยื่อใยคุณภาพต่ำ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูก

3. การให้อาหารที่มากเกินไป ส่งผลให้มีการสะสมไขมันที่ตับ ตับจึงมีขนาดที่โตขึ้น

4. อวัยวะภายในมีการขยายขนาด หรือมีเนื้องอกภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเบียดทับถุงลม

5. การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)

 
แนวทางการรักษา
1. ปรับเพิ่มอุณหภูมิของน้ำในตู้ปลา เนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นเกินไปจะทำให้ระบบการย่อยทำงานได้ไม่ดี ก่อให้เกิดภาวะท้องผูก ควรเพิ่มอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 70-80 องศาฟาเรนไฮต์

2. ในกรณีที่เกิดจากภาวะทานอาหารมากเกินไป แนะนำงดอาหาร 3 วันเพื่อปรับให้ทางเดินอาหารกลับเข้าสู่ขนาดเดิม

3. ปรับเปลี่ยนชนิดอาหารให้มีเยื่อใยที่เหมาะสม โดยใช้อาหารปลาที่มีส่วนผสมของไฟเบอร์มากกว่า 12%

4. กรณีที่ปลาไม่สามารถทานอาหารเองได้ ให้ป้อนหรือปรับรูปแบบ การให้อาหาร เช่น อาหารเม็ดแบบจม เพื่อให้ปลาว่ายลงไปกินง่ายขึ้น

5. กรณีที่ถุงลมผิดปกติจากภาวะติดเชื้อ ควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเสมอ เช่นยากลุ่ม fluoroquinolone ,aminoglycoside หรือ betala ctame

6. ใช้ห่วงชูชีพ หรือทุ่น เพื่อปรับสภาพให้สัตว์ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่ได้

 

การตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยจึงเป็นตัวเลือกสำคัญในการ นำมาใช้ในการวินิจฉัยสาเหตุของโรค

รูปที 1 แสดงภาพถุงลม ปกติในปลาทองจำนวน 2 อัน แบ่งออกเป็น ถุงลมส่วนหน้า (Cranial lobe) และส่วนท้าย (Caudal lobe)

รูปที่ 2แสดงกรณีศึกษาพบว่าถุงลมเหลือเพียง 1 อัน ปลาตัวนี้มีการว่ายก้นโด่ง แต่ยังสามารถใช้ชีวิตทานอาหารได้ปกติ

รูปที่ 3 แสดงกรณีศึกษาพบถุงลมส่วนท้าย มีการเคลื่อนตัวลงมาบริเวณหน้าท้อง ทำให้มีการว่ายน้ำหงายท้อง

รูปที่ 4แสดงการใช้ทุ่น พยุงตัวปลา ทำจากสายยาง และข้อต่ออ็อกซิเจน 

รูปภาพจาก:http://www.dailymail.co.uk/news/article-2313439/Disabled-fish-swim-rightway-owner-makes-LIFE-JACKET-stop-sinking-tank.html

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้