ขิม

ขิม

ผู้เยี่ยมชม

  ปลาชะโดป่วย (700 อ่าน)

27 ก.ค. 2564 02:51

ปลาชะโดป่วยสันนิษฐานว่าเป็นโรงครีบและหางเปลื่อย ไม่กินอาหาร ว่ายน้ำน้อย ต้องเริ่มต้นทำอะไรเป็นอันดับแรก

ขิม

ขิม

ผู้เยี่ยมชม

Dr.Randolph

Dr.Randolph

ผู้เยี่ยมชม

10 ก.ค. 2565 19:32 #1

ถ้าสงสัยโรคครีบและหางเปื่อย จะเกิดจากเชื้อกลุ่มไซโตฟากา หรือเฟลกซิแบคเตอร์ หรือฟลาโวแบคทีเรีย มีชื่อเรียกหลายโรค ที่นิยมคือ columnaris แต่พอหางกุดจะเรียก peduncle disease ซึ่งมักจะทำให้เกิดตัวด่างด้วย ถ้ารุนแรงก็จะเป็นหลุม และเหงือกกร่อน พวกนี้จะชอบอากาศเย็นและแพร่โรคในช่วงเปลี่ยนฤดูหรือในน้ำที่มีอุณหภูมิลดลงตามนิสัยของชนิดเชื้อครับ แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ควรจะดูที่เหงือกร่วมด้วยเพราะเหงือกมักจะกร่อน ซีด บางตัวคือแหว่งเป็นหลุมได้ แบบนี้จะไม่ใช่พฤติกรรมของเชื้อดังกล่าวและมักเกิดจากการแทรกซ้อนของเชื้อหลายชนิดที่พบบ่อยในปลา เช่น แอโรโมนาส ซูโดโมนาส เสตรปและสแตป เป็นต้น เป็น bacterial gil disease และเกิดภาวะอักเสบทั่วร่างกาย แต่แยกได้จากเริ่มพบจุดเลือดออกซึ่งมักเรียกว่าตกเลือดในผู้เลี้ยงปลาให้เห็น อันนี้จะแสดงถึงความรุนแรงและโอกาสเสียชีวิตสูง

หากเป็นเพียงแค่ครีบและหาง อาจไม่รุนแรงเท่าก้บตัวที่ติดเชื้อและอักเสบทั่วร่างกาย การรักษาจะต่างกันที่ชนิดยาที่ใช้ การใช้ยาร่วม โดส การบริหารยาที่ต่างกัน และพิจารณาร่วมกับการใช้ยาอื่นๆในรายที่รุนแรงมาก สำหรับการป้องกัน นอกจากการปรับอุณหภูมิน้ำให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ตรวจระดับแอมโมเนียที่เป็นสาเหตุโน้มนำ และระดับคุณภาพน้ำอื่นๆ แล้ว การใช้จุนสีหรือด่างทับทิมก็ใช้ป้องกันเบื้องต้นได้ครับ แต่ส่วนใหญ่ไม่ชอบเพราะไม่เห็นผลทันทีในการรักษา หรือใช้เกลือในการป้องกันเพื่อปรับคุณภาพน้ำ การใช้ยาจึงนิยมใช้ในกรณีที่พบเริ่มรุนแรง ในรูปแบบกินถ้ายังกินได้หรือฉีดที่รุนแรงมากดังกล่าวข้างต้น ยาฉีดและยากินมีหลายชนิดให้ผลการรักษาไม่เหมือนกัน และเชื้อมีความเสี่ยงต่อการดื้อยาสูง จึงใช้ยาตามฐานข้อมูลที่มีการปรับในแต่ละปีครับ

Dr.Randolph

Dr.Randolph

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้