มุฑิตา

มุฑิตา

ผู้เยี่ยมชม

  ปลาทองเป็นเกล็ดพอง (183 อ่าน)

25 พ.ค. 2567 15:08

ตอนแรกปลามีอาการซึมๆไม่ค่อยร่าเริงค่ะผ่านไป2-3วันถึงสังเกตเห็นว่าเกล็ดพองนิดๆ เลยจับแยกออกมาใส่ยา Dพาสม่า ข้างขวดเขียนว่าช่วยรักษาเกล็กพองแต่แช่มา2วันเกล็ดพองหนักขึ้นเรื่อยๆค่ะ ต้องรักษายังไงคะ

มุฑิตา

มุฑิตา

ผู้เยี่ยมชม

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

26 พ.ค. 2567 19:42 #1

อาการเกล็ดพองหรือเกล็ดตั้งเป็นอาการหนึ่งของการอักเเสบทั่วร่างกายครับ ซึ่งในปลาส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ และในกรณีนี้จะเกิดการอักเสบทั่วร่างกายจากการติดเชื้อได้ ก็ต้องเป็นการติดเชื้อและพบได้ในกระแสเลือด มันจึงรุนแรง และเมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็แพร่กระจายไปทั่ว ไปยังอวัยวะต่างๆ และกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการต่อต้านด้วยภูมิคุ้มกัน จึงเริ่มเกิดการอักเสบจากจุดแรกที่ติดเชื้อแล้วลามไปยังอวัยวะอื่นๆมากกว่า 2 อวัยวะขึ้นไป ในปลาจะมีชื่อเรียกเป็นทางการว่าโรคฮีโมเรจิกเซฟติซีเมีย (hemorrhagic septicemia) เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

มาเล่าหรือว่าเกล็ดพองเกิดได้ยังไงก่อน ที่จริงอยากให้คนเลี้ยงปลาได้ทราบและตระหนักว่าเวลาเราติดเชื้อในกระแสเลือด ทายาภายนอกมันไม่หาย เมื่อมีการติดเชื้อและอักเสบทั่วร่างกาย จะมีการหลั่งเซลล์อักเสบจำนวนมากทั่วไปหมด และจะผลิตสารไปกระตุ้นหลอดเลือดให้เกิดการขยายตัวและยอมให้เม็ดเลือดเล็ดลอดออกจากหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ ทำให้เราจะเห็นอาการบวมน้ำ และหลายรายมักจะเกิดร่วมกับการตกเลือด หรือมีจุดเลือดออกตั้งแต่น้อยๆไปจนถึงเป็นปื้น และมีเลือดปนในช่องท้อง รายที่ไม่พบจะกลายเป็นกระสีดำเพราะผ่านมาหลายวันหรือตอบสนองต่อการรักษา พอเส้นเลือดขยายและปล่อยให้เกิดการหลั่งสารออกจากหลอดเลือดรวมทั้งน้ำ ทำให้เกิดการบวมบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการฝังตัวและกำเนิดเซลล์เกล็ดปลาที่ชั้นเดอมิส เมื่อเกิดการบวมมันจึงเกิดการตั้งขึ้นครับ ซึ่งต่างจากปลาอ้วน เกล็ดจะไม่ตั้งแต่จะถ่างออกจากกันห่างขึ้นแค่นั้น

เมื่อเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ในคนและสัตว์ชนิดอื่นจะทำการรักษาตามหลักการติดเชื้อและอักเสบทั่วร่างกายและถือเป็นกลุ่มอาการร้ายแรงครับ เขาจะพยายามให้ยาปฏิชีวนะเร็วที่สุดและบริหารยาในตำแหน่งที่เหมาะสมและได้ผลเร็วของการฉีด และมักจะเป็นเข้าเส้นเลือดไปเลยและใช้ยาที่พบว่ามีประวัติได้ผลกับเชื้อที่สงสัย ในปลามักจะบริหารยาจากโรคนี้ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แม้กระทั่งการป้อนก็ไม่เหมาะสมเวลาเกิดปัญหานี้ และแม้ว่าเหงือกปลาจะมีเส้นเลือดอยู่มากและหวังว่าจะมีการดูดซึมยาผ่านเหงือกได้แต่ก็ไม่สามารถได้รับในระดับที่เพียงพอ รวมไปถึงระบบการไหลเวียนเลือดมักจะล้มเหลว การหวังพึ่งการบริหารยาปฏิชีวนะทางนี้จึงมักไม่ได้ผลครับ และนอกจากนี้กลุ่มยากระตุ้นภูมิก็มักจะเป็นทางเลือกภายหลังจนกว่าการรักษาตามหลัก คือการประคับประคองจะแล้วเสร็จ เบื้องต้นก็คือการเลือกยาปฏิชีวนะรูปฉีดที่เหมาะสม (มีผลมาจากข้อมูลการเพาะเชื้อที่เก็บไว้) การใช้ยาต้่านการอักเสบเพื่อตัดวงจรการอักเสบที่รุนแรง และยังช่วยในภาวะช็อคได้ (ในปลาคนมักจะไม่ค่อยเข้าใจ เพราะไม่ทราบกลไก) ร่วมกับการควบคุมคุณภาพน้ำ

การใช้ยาภายนอกมักจะได้ผลกับรายที่เพิ่งเป็นและไม่รุนแรง หรือใช้เพื่อการป้องกัน เมื่อมีในฝูงเกิดการติดเชื้อ หรือป้องกันเมื่อนำเข้าปลาใหม่แต่ไม่ดีเท่าการกักโรค หรือไม่เหมาะเท่ากับการใช้เกลือหรือด่างทับทิม แทนพวกฟอร์มาลีนและมาลาไคท์กรีน เพราะเกลือจะไปสร้างสภาวะกรดอ่อน ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ (acidifier bacterial laden) แต่หากใช้ยามักจะทำให้น้ำปราศจากจุลินทรีย์เหล่านี้ เมื่อหมดฤทธิ์ของยาจึงมักเกิดการแทรกซ้อนของเชื้อโรคโดยขาดการต่อต้านจากจุลินทรีย์ที่ดีครับ

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้