ไอรดา
พากระต่ายไปทำหมันตัวผู้ น้องอายุ 2 ขวบ ช้อตตายสาเหตุเกิดจากอะไรคะ (310 อ่าน)
29 มี.ค. 2567 20:27
พากระต่ายไปทำหมันตัวผู้ น้องอายุ 2 ขวบ ช้อตตาย
ไอรดา
ผู้เยี่ยมชม
อ.แก้ว ขวัญคำ
31 มี.ค. 2567 20:13 #1
ผมจะไม่ได้กล่าวถึงการช็อคแค่อย่างเดียวนะครับ จะกล่าวถึงสาเหตุเป็นภาพรวม เพราะอาการช็อคเป็นแค่อาการหนึ่งในนั้นเท่านั้นเอง สาเหตุการตายขณะทำหมันมีสาเหตุมากมายครับ ปัญหาแรกคือสุขภาพกระต่ายเองมีหลายๆตัวที่ไม่แสดงอาการเจ็ปบ่วย รวมทั้งผลของค่าเลือดพื้นฐานก่อนการผ่ามีค่าปกติ การชันสูตรหลังเสียชีวิตจึงช่วยในการยืนยัน รวมไปถึงหลายๆเคสอาจต้องทำจุลพยาธิเพื่อไปส่องกล้อง งานวิจัยผมเกี่ยวกับโรคบางงานพบว่าสัตว์หลายชนิดไม่แสดงอาการ รวมไปถึงเมื่อทำการผ่าชันสูตรด้วยตาเปล่าก็มองไม่เห็น ต้องเอาไปเพาะเชื้อที่จำเพาะ และทำการส่องกล้องดุอวัยวะทางจุลพยาธิ จึงพบรอยโรคได้ ดังนั้นการสำรวจโรคจึงเป็นคำตอบ
นอกจากนี้ปัญหาการตายยังเกิดกับแต่ละตัวที่มีผลจากการใช้ยาสลบ ทั้งที่กระต่ายหรือสัตว์ส่วนใหญ่จะได้ผลดีและปลอดภัยกับยาสลบหรือวิธีการวางสลบนั้นๆ ก่อนทำการผ่าตัด หมอส่วนใหญ่จึงจะแจ้งเจ้าของให้ทราบและเซ็นยินยอมก่อนการผ่าตัด เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ จะ 1 ใน 100 หรือ 1 ในล้านก็เป็นความเสี่ยง การวายาสลบจึงเป็นเรื่องระมัดระวังในกลุ่มหมอ และการเลือกใช้ยาก็ต่างกัน เพราะยามีหลายชนิดและหลายรูปแบบ และมีขนาดการใช้ยืนยันในตำรา ใช้กันมานาน แต่ก็ต้องระวังอยู่ดี
การทำหมันตัวผู้ในกระต่ายทำได้สะดวก ง่าย และรวดเร็ว การเสียชีวิตในขั้นตอนการผ่าตัดเองจึงน้อย แต่ไม่ใช่ไม่เกิดแต่มักไม่ใช่จากการผ่าตัดเท่านั้นเอง จึงต้องไปดุข้อมูลสองย่อหน้าแรกครับ แต่อาการเจ็บปวดจะมีบางเคสที่เจ็บปวดหลังการผ่าตัดเป็นส่วนใหญ่ ตัวที่เสียชีวิตมักจะแทะแผลตัวเองเพราะคันหรือยังปวด แม้ว่าจะยังให้ยาบรรเทาปวดแต่อาการคันมักไม่ลดลง เมื่อทำการกัดแทะอาจทำให้เกิดการเสียเลือดและทำให้เกิดอาการช็อค ซึ่งหมายถึงการเสียเลือดทำให้ร่างกายนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงไม่ทั่วถึง มักจะเกิดจากการเสียเลือดไปเรื่อยๆ โดยไม่ทันสังเกตเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้ว นอกจากการผ่าตัดยังพบได้ในกระต่ายเพศผู้ที่กัดกันและบังเอิญกัดถูกถุงหุ้มอัณฑะ ทำให้เลือดไหลออกมากครับ ความเครียดหลังการผ่าตัดก็พบได้ กระต่ายจะไม่ทนต่อความเครียด การบาดเจ็บเมื่อเทียบกับสัตว์หลายๆชนิด ความเครียดจึงเป็นอีกสาเหตุที่มักทำให้ตายแบบไม่ทราบสาเหตุ แต่เมื่อทำการซักประวัติก็มักจะสัมพันธ์กับการถูกคุกคาม การไม่พอใจ แม้กระทั่งการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม การขนส่ง ล้วนทำให้เกิดขึ้นได้หมด ที่สำคัญ คนที่จะช่วยให้คำตอบที่ดีที่สุดเพราะอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆคือคุฯหมอครับ เพราะผู้ตอบทั้งหลายในบอร์ดก็ให้ได้แค่ภาพรวมกว้างๆที่เป็นไปได้เท่านั้น
มาที่คำว่า shock หรือช็อค มีหลายสาเหตุ มีทั้งแบบปรับตัวได้เรียกว่า compensatory shock และปรับตัวไม่ได้ เรียกว่า decompensatory shock ในสัตว์ต่างๆเมื่อเกิดการช็อค นั่นหมายถึงการไหลเวียนเลือดแย่ลง ความดันจะต่ำลง และการนำพาออกซิเจนจะลดลง หัวใจจะพยายามปรับตัวมากขึ้นเพื่อให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายเพียงพอ เราจะพบชีพจรเต้นเร็วและแรงขึ้น เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนได้รับเลือด แต่ในรายที่ปรับตัวไม่ได้ แม้ว่าหัวใจพยายามจะเต้นให้แรงขึ้นและเพิ่มอัตราการเต้นแล้ว แต่ร่างกายส่วนต่างๆกลับไม่ตอบสนอง และกระต่ายในภาวะวิกฤติมักเป็นแบบนั้น ขณะที่การรักษาแบบเดียวกันในสัตว์ชนิดอื่นจะช่วยทำให้ฟื้นได้ง่าย แต่กระต่ายจะเกิดอย่างรวดเร็ว นั่นคือผลทางด้านสรีรวิทยาของกระต่ายโดยตรงที่พบอยู่เสมอ สาเหตุแบ่งได้จาก การที่มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อยไม่เพียงพอจากปริมาตรเลือดลดลง สาเหตุจากโรคหัวใจที่เกิดจากการปั้มเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ สาเหตุเกิดจากโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายที่ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยายและเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ สาเหตุเกิดจากการอุดกั้นของเส้นเลือดทำให้นำเลือดไปเลี้ยงไม่ได้ และยังเกิดได้จากสาเหตุต่างๆรวมกันได้ครับ ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถลำเลียงไปยังส่งต่างๆได้ จึงเกิดการเสียชีวิตครับ
อ.แก้ว ขวัญคำ
ผู้เยี่ยมชม