ดูอาการผิดปกติของนกจากสิ่งขับถ่าย

26165 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดูอาการผิดปกติของนกจากสิ่งขับถ่าย

ดูอาการผิดปกติของนกจากสิ่งขับถ่าย

โดย หมอแก้ว (ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์   วีระกุล)

การสังเกตสิ่งขับถ่าย Dropping ของนกมีความสำคัญมากในการวินิจฉัยโรค และเจ้าของสามารถสังเกตความผิดปกติอันซ่อนเร้นอยู่ของนกนั้นไม่ยาก

สิ่งขับถ่าย มีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน ได้แก่

1 อุจจาระ (Feces)

2 ยูเรต (Urate)

3 ปัสาวะ (Urine)

พวกเราเคยสังเกตกันไหมครับว่า มันเป็นสามส่วนอย่างนั้นจริงๆ แต่ละส่วนอาจจะปนกัน หรือแยกกันจนเห็นได้ชัดเจน 

หากเราดูกันจริงๆ ก็จะแยกได้

- วงเปียกๆ จะเป็นปัสสาวะ

- ก้อนสีขาวถึงสีครีมจะเป็นยูเรต

- ส่วนอุจจาระจะเป็นก้อนอีกสีหนึ่ง ก็คงดูกันได้ไม่ยาก 

ในนกนั้นถือว่าการดูสิ่งขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะบ่งบอกความผิดปกติได้ง่าย นกขนาดเล็กมักจะขับถ่ายถี่กว่า ประมาณ 25-50 ครั้งต่อวัน
ขณะที่นกขนาดใหญ่จะต่ำ 8-15 ครั้งต่อวัน องค์ประกอบสามส่วนของนกแต่ละชนิดก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่กิน 
เจ้าของควรเป็นนักสังเกตที่ดี หากเกิดโรค อึมักจะเปลี่ยนไปด้วย... 

อุจจาระที่ดี ไม่ควรพบมีเลือด หรืออาหารที่ไม่ย่อย ไม่ควรเหลวมาก* 

(ซึ่งมักจะพบว่าเหลวเมื่อนกมีความเครียด จากการเดินทาง หรือหลังจากการให้ยาได้ และต้องแยกให้ออกจากปัสสาวะ)    


 
สีของอุจจาระจะขึ้นกับอาหาร

แต่หากพบว่าดำผิดปกติ

อาจจะเกิดได้จากสภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (พบมากในนกแก้วอเมซอน) โลหิตจาง มีแผล เนื้องอก หรือการอักเสบในทางเดินอาหาร โรคตับ แม้กระทั่งในท่อนำไข่ หรือทวารรวม

หากเป็นสีเทาขาว

มักเกิดจากสภาวะขาดอาหาร หรือการดูดซึมอาหารมาดี ปริมาณน้ำของอุจจาระลดลง อาจเป็นเพราะว่ากินลดลง หากอุจจาระแห้งมาก มักจะเกิดจากกการขาดน้ำ หรือโรคตับได้ อุจจาระเหลวมากขึ้น อาจเป็นเพราะกินน้ำมาก หรือผักมาก แต่ในบางรายบ่งบอกถึงสภาวะการดูดซึมอาหารไม่ดี พบอาหารไม่ย่อย บอกว่า การย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ การเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารมากกว่าปกติ (ซึ่งเกิดได้จากโรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิภายใน) ตับอ่อนอักเสบ กระเพาะพักอักเสบ ยูเรต ปกติจะมีสีขาวถึงสีครีม

หากเปลี่ยนเป็นสีเขียว เหลืองหรือน้ำตาล

จะเกิดจากมีบิลิเวอริดีนมากขึ้น จากการแตกของเม็ดเลือดแดง หรือตับอักเสบจากสารพิษ ภาวะขาดอาหาร โรคไข้นกแก้ว หรือโรคติดเชื้อคลาไมเดีย รวมทั้งโรคไวรัสได้ อาการยูเรตสีเขียว มักบ่งบอกถึงการเสื่อมของตับ หากพบว่าไม่มียูเรตในสิ่งขับถ่ายเลย จะบอกได้ถึงโรคไต และโรคตับได้เช่นกัน
 
ปัสสาวะ
หากพบว่าปริมาณปัสสาวะมาก เกิดได้จาก การดื่มน้ำมาก โรคไต โรคตับ โรคเบาหวาน (พบได้มากในพวกคอคคาเทล) อาจจะเกิดได้จากอาการเครียด หรือการให้ยาบางชนิดและเกิดผลข้างเคียง เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (แอมพิซิลลิน อะม็อกซี่ซิลลิน และอื่นๆ) ยากลุ่มสเตียรอยด์ โปรเจสเตอโรน รวมทั้งการขาดไวตามินเอ หรือให้ไวตามินดีมากไป และอาหารที่มีเกลือมาก
 

เราพอจะทราบกันคร่าวๆ แล้วว่าเราจะสังเกตความผิดปกติของสัตว์เลี้ยงเราได้อย่างไร ก็อย่าลืมดูกันล่ะครับ

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้