16875 จำนวนผู้เข้าชม |
การจัดการอาหารในอิกัวน่า Dietary management of Iguana
น.สพ. เสกฐชนม์ เพิ่มเยาว์ (หมอสตางค์)
อิกัวน่าเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ปัจจุบันมีความนิยมในการเลี้ยง ติดอันดับต้นๆของสัตว์จำพวกกิ้งก่า การดูแลการจัดการในการเลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
เพื่อให้สัตว์นั้นมีสุขภาพที่ดี นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อม สถานที่เลี้ยง สุขอนามัยแล้ว อาหารเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงต้องหันมาใส่ใจในการเลือกแหล่งสารอาหารให้เพียงพอ และเหมาะสมต่อตัวสัตว์
บทความนี้จะกล่าวถึงการจัดการอาหาร เพื่อให้อิกัวน่ามีภาวะโภชนะที่เหมาะสม
ชนิดของอาหาร
แหล่งของแคลเชียม
เป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญของอาหาร ในหนึ่งมื้อควรมีอยู่ 40-45 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านั้น และสามารถใส่ผสมกันได้หลากหลาย ชนิดได้ เช่น หัวผักกาด, ผักกาดเขียว, ใบถั่ว, ผักพาสลี่และใบหรือ ดอกชบา เป็นต้น ผักจำพวกผักกาดหอมหรือผักสลัดนั้นมีคุณค่า ทางโภชนะน้อยกว่าข้างต้น หากนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร ควรมีการผสมกับพืชใบเขียวร่วมด้วย ข้อควรระวังในการให้ผักขมไม่ ควรให้เป็นสัดส่วนหลัก เนื่องจากมีปริมาณของอ๊อกซาเลตสูงเกิด การจับกับแคลเซียมทำให้สัตว์ไม่ได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ และจำพวกกะหล่ำ, คะน้าและบล็อกโคลี่มีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ซึ่งทำให้การของต่อมไทรอยด์ลดลง
ผักอื่นๆ
มีสัดส่วนอยู่ 40-45 เปอร์เซ็นต์ ของมื้ออาหารซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนตามแต่ละสัปดาห์ เช่น ถั่วเขียว, มันเทศ, มันหวาน, กระเจี๊ยบเขียว, พริกหวาน, ถั่วลันเตาและกลุ่มฟักทอง ส่วนแตงกวา ,มะเขือเทศ, แตงกวาญี่ปุ่น, หัวหอม, ปาล์มและแรดิช มีคุณค่าทาง โภชนะต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการนำมาประกอบอาหาร
แหล่งของโปรตีน
Alfafa เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีค่าโภชนะของโปรตีนมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์, เยื่อใย 15 เปอร์เซ็นต์และแคลเซียม 1.4 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นแหล่งที่มาของโปรตีนที่สำคัญของอิกัวน่ำ ซึ่งในปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์มากมายหลากหลายยี่ห้อผลิตออกมาในรูปแบบทั้งเป็น เม็ดและเป็นผงการให้ Alfalfa นั้นควรมีการแช่น้ำให้ชุ่มก่อนให้กิน หากพบว่าสัตว์ปฏิเสธการกินแนะนำให้ค่อยๆให้แบบผงหรือบด เม็ดละเอียดผสมกับผักที่สับให้และค่อยๆเพิ่มในแต่ละสัปดาห์
ผลไม้
ผลไม้ในสัตว์กินพืชใบเขียว เช่นอิกัวน่าถือเป็นแหล่งอาหารที่ควรระวัง เนื่องจากผลไม้สามารถทำให้สัตว์ได้รับปริมาณแคลเซียม และโปรตีนในอาหารลดลงอีกทั้งยังมีปริมาณของแคลเซียมและ โปรตีนน้อยรวมถึงฟอสฟอรัสที่สูง การให้ผลไม้นั้นสามารถให้ได้ เป็นครั้งคราวหรือให้เป็นขนมได้ในปริมาณที่น้อย
วิตามินเสริม
โรคการขาดวิตามินสามารถพบบ่อยในอิกัวน่า ดังนั้นวิตามินและ แร่ธาตุเป็นสิ่งที่แนะนำในการเสริมในอาหารแต่ในปัจจุบันข้อมูล การศึกษาถึงความต้องการในแต่ละชนิดสัตว์ยังมีน้อย โดยอาหาร เสริม ที่ขายตามท้อง ตลาด สามารถนำมาใช้ ในกลุ่ามของ สัตว์เลื้อยคลานได้ โดยหลักการเลือกในส่วนของวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในไขมัน (A, D และ K) ดูที่สัดส่วน วิตามิน A:D:K เท่ากับ 100:10:1 ตามลำดับ สำหรับแร่ธาตุ เช่น แคลเซียมสารมารถใช้แคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมกลูโคเนตแบบผงได้ ซึ่งการใช้วิตามินหรือแร่ธาตุเสริมอาจทำให้ความน่ากินของอาหารลดลง ดังนั้นในการเตรียมต้องทำการคลุกผสมให้ เข้ากันอย่างดีเพื่อป้องกันรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ในอาหารได้
การเตรียมและการให้อาหาร
การเตรียมอาหารของอิกัวน่านั้นไม่ได้มีขึ้นตอนที่ยุ่งยากและยัง สามารถเตรียมเผื่อไว้ได้ถึง 4-7 วันแล้วแต่ความสะดวก โดยสิ่งที่ต้องคำนึงที่สำคัญคือแหล่งที่มาของวัตถุดิบต้องเป็นแหล่งที่ น่าเชื่อถือปราศจากการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารอื่นๆกับวัตถุดิบ โดยเริ่มจากการล้างสิ่งสกปรกออกให้สะอาดแล้วทำการสับหรือหั่นออก ตามขนาดที่เหมาะสมกับสัตว์ จากนั้นทำการผสมโดยการคลุกให้ เข้ากันโดยทั่วถึง เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์จะได้กินอาหารได้ครบถ้วน ส่วนอาหารในมื้ออื่นๆสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นในการให้อาหารควร ให้อาหารอยู่ในอุณหภูมิห้อง ใส่ถาดวางเตรียมไว้ในบริเวณอบอุ่น ช่วงเวลาเช้าและเก็บในช่วงเย็น
การให้อาหารแต่ละช่วงวัน
แรกเกิดจนถึงขนาด 14 นิ้ว
• ให้ 2 ครั้ง/วัน หรือจะตั้งให้ทั้งวัน
• ใช้การปั่นอาหารหรือจะใช้การสับให้ละเอียดมาก
• วิตามิน/แร่ธาตุใช้ในประมาณ 1 หยิบมือโรย โดยวิตามินให้ 4-5 ครั้ง/สัปดาห์และแคลเซียม 7 วัน/สัปดาห์
ช่วงวัยรุ่น (ถึง 2.5 ปี หรือขนาด 3 ฟุต)
• ให้อาหารวันละครั้ง
• สับอาหารให้ละเอียดพอประมาณ
• ปริมาณการเสริมเช่นเดียวกับช่วงแรกเกิด
ช่วงโตเต็มวัย (เกิน 2.5 ปี หรือขนาดเกินกว่า 3 ฟุต)
• ให้อาหารวันละครั้งหรือวันเว้นวันขนาดอาหารสามารถสับหยาบได้
• วิตามิน/แร่ธาตุให้ปริมาณ 1 หยิบมือต่อน้ำหนัก 1 กก. โดย วิตามินให้ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์และแคลเซี่ยม 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ (5-6 ครั้ง/สัปดาห์ในกรณีท้องหรือป่วย)