เมื่อหมอต้องผ่าตัดกระดองเต่า?

3638 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อหมอต้องผ่าตัดกระดองเต่า?

เมื่อหมอต้องผ่าตัดกระดองเต่า?

โดย นสพ.อัครภัทร   บุตรสุรินทร์(หมอโต้ง)

กิจกรรมการตกปลาเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ได้ความนิยมคู่คนไทยมาช้านาน ทั้งห้วย หนอง คลอง บึง แหล่ง น้ำตามธรรมชาติ ไปจนถึงทะเลมหาสมุทร โดยสัตว์ที่มากินเหยื่อตกปลานั้นก็มักจะเป็นปลาหลากชนิด แต่ไฉนผู้ โชคร้ายของหมอวันนี้กลับกลายไปเป็นเต่าหับ (Testudo amboinessis Daudin) แถมชื่อฮับเสียด้วย ซวยหนึ่ง

ผู้ใจบุญพาน้องฮับมารักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ และให้ข้อมูลว่าได้ดึงเชือกเบ็ดตกปลาขาด หมอ จึงขอแนะนำว่า เมื่อพบเต่ากินเบ็ดตกปลาไม่ควรดึงหรือกระชากเพื่อเอาเบ็ดออกเอง เพราะยิ่งทำให้ตะขอเบ็ด ตกปลาฝังแน่นและทำลายเนื้อเยื่อทางเดินอาหารของเต่า ยิ่งส่งผลเสียต่อผลสำเร็จในการรักษาครับ ซวยสอง

หมอทำการตรวจร่างกาย และทำการถ่ายภาพทางรังสี ก็พบเบ็ดตกปลาจริงทางด้านซ้ายของลำตัว ดังรูปที่ 1 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเบ็ดไม่ได้ติดอยู่ที่หลอดอาหารของน้องฮับ เนื่องจากเต่า สามารถหดคอทำให้ส่วนของคอเข้าไปอยู่ในช่องลำตัวได้ หมอจึงพิจารณาวางยาซึม ยึดคอถ่ายภาพทางรังสีซ้ำ และพบว่าเบ็ดตกปลาอยู่ในกระเพาะอาหารของน้องฮับจริง ดังภาพที่ 2 (เต่ากินเบ็ดตกปลามักติดอยู่ตำแหน่ง หลอดอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรักษาจะง่ายและไม่จำเป็นต้องผ่าเปิดกระดอง) ซวยสาม T^T

โครงการ หมออาสาช่วยชีวิตสัตว์ป่า (V WAR Thailand) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ จึงรับเข้าโครงการเพื่อดูแล

รูปที่ 1 แสดง ภาพถ่ายรังสีเบ็ดตกปลาอยู่ฝั่ง

ไม่ได้อยู่ในหลอดอาหารเต่า

รูปที่ 2 แสดง ยืดคอถ่ายภาพรังสี เบ็ดตกปลา ด้านซ้ายของตัวเต่า

เมื่อรู้ตำแหน่งของเบ็ดตกปลาที่ชัดเจน เคสนี้หมอจึงตัดสินใจพิจารณาทำการศัลยกรรมเปิดผ่ากระดองเพื่อเอา เบ็ดออกครับ (เหลือทางเลือกเดียวถ้าจะรักษา)

ขั้นตอนในการทำศัลยกรรมเริ่มจากวางยาซึมและยาสลบชนิดฉีด เพื่อเหนี่ยวนำการสลบและควบคุม การสลบด้วยแก๊สดมสลบ เพื่อให้เต่าอยู่ในสภาวะไม่ทรมานและเหมาะสำหรับการทำศัลยกรรม รวมทั้งให้ยาลด ปวดเพื่อควบคมอาการปวดที่เกิดขึ้นระหว่างศัลยกรรมและยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ

ทำการขัดกระดองด้านท้อง (Scrub) ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด

ทำการเปิดกระดองเต่าด้วยอุปกรณ์พิเศษ หลักในการเปิดกระดองควรเปิดเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยม บานพับ (Window) เฉียงประมาน 45 องศา เพื่อเวลาปิดกระดองคืนแผลผ่าตัดจะแนบสนิทและไม่ยุบตัวลงไปใน ช่องท้อง ดังรูปที่ 3 โดยเปิดเพียง 3 ด้าน ให้เหลือด้านหนึ่งติดกับลำตัวไว้และเหลือเนื้อเยื่อติดส่วนของกระดองที่ เปิดไว้ เพื่อช่วยให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนใต้กระดอง ช่วยให้แผลผ่าตัดมีโอกาสหายได้ดีขึ้น ดังรูปที่ 4

รูปที่ 3 แสดง การใช้อุปกรณ์พิเศษติด

รูปที่ 4 แสดง การเปิดผ่ากระดองรูปสี่เหลี่ยมบานพับ กระดอง

ใช้ตัวเกี่ยวอวัยวะภายใน (Hooker) เพื่อลดความเสียหายของเนื้อเยื่ออวัยวะภายใน เกี่ยวเอากระเพาะ อาหารเป้าหมายที่เราจะเปิดผ่าออกมา

เมื่อพบกระเพาะอาหารแล้ว ทำการรั้งกระเพาะอาหารให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย stay suture ค่อยทำการเปิดผ่ากระเพาะอาหาร ก็พบเจ้าเบ็ดตกปลาเจ้าปัญหา ดังรูปที่ 5 และ 6

รูปที่ 5 แสดงการเปิดกระเพาะอาหาร

รูปที่ 6 แสดง เบ็ดตกปลาเจ้าปัญหาที่เต่ากินเข้าไป และนำเบ็ดตกปลาออก

ทำการเย็บปิดกระเพาะอาหาร ชั้นกล้ามเนื้อใต้กระดอง และปิดกระดองด้วย Epoxy-Resin เพื่อป้องกัน การปนเปื้อนเชื้อเข้าไปในบาดผ่าตัด เป็นอันเสรจสิ้นการทำศัลยกรรมเปิดผ่ากระดองเต่า

อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญอีกอย่างคือการดูแลหลังการผ่าตัด เพื่อเพิ่มผลสำเร็จในการรักษา การรักษา ประคับประคองอาการ (Supportive treatment) เป็นสิ่งสำคัญ น้องเต่าฮับต้องได้ยาควบคุมอาการปวด สาร อาหารพลังงาน และการป้องการติดเชื้อที่เหมาะสม

 

มาเอาใจช่วยน้องเต่าฮับให้หายดีและได้กลับไปว่ายน้ำเล่นตามธรรมชาติใหม่อีกครั้งกันนะครับ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้